JILGYUNGYI ARTICLE

บทความดีๆ ที่ช่วยเสริมความมั่นใจให้สาวจิลยอง

มีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือนจะทำให้ตั้งครรภ์ได้หรือไม่ ?

1 ตุลาคม 2562

มีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือนจะทำให้ท้องหรือไม่ ? เชื่อว่าคำถามนี้คงเป็นคำถามที่อยู่ในใจของหลาย ๆ คน ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เดี๋ยววันนี้เราจะมาทำความเข้าใจและหาคำตอบไปพร้อมกันนะคะ

บางคนอาจเคยได้ยินว่า “ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ หากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่มีประจำเดือน และยังเป็นการคุมกำเนิดได้ดีอีกด้วย” ซึ่งนั่น…ไม่ใช่ความจริงทั้งหมดซะทีเดียวนะคะ

 

ทำความเข้าใจเรื่องการตั้งครรภ์?

ปกติแล้วผู้หญิงจะสามารถตั้งครรภ์ หรือท้องได้ ก็ต่อเมื่อมีเพศสัมพันธ์ (Sexual Intercourse) และเกิดการผสมกันระหว่างอสุจิ (Sperm) ของผู้ชาย และไข่ (Egg) ที่ถูกปล่อยออกมาจากรังไข่ (Ovary) ของผู้หญิง ซึ่งจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 12-14 ชั่วโมง ในขณะที่อสุจิสามารถมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 3 วัน

รอบเดือน (Period) หรือ ประจำเดือน (Menstruation) ทั่วไปของผู้หญิงจะมีช่วงระยะเวลาประมาณ 28 วัน โดยเริ่มนับวันที่ 1 จากวันแรกของของการมีประจำเดือน และจะเกิดการตกไข่ (Ovalution) ประมาณวันที่ 14

นั่นหมายความว่า การตกไข่ จะเกิดขึ้นหลังจากรังไข่ปล่อยไข่ออกมา เพื่อรอรับการผสม (Fertilization) หากมีอสุจิที่ยังมีชีวิตอยู่ภายในมดลูก (Uterus) เข้าไปผสม ก็สามารถเกิดการตั้งครรภ์ขึ้นได้

วันตกไข่ของผู้หญิงแต่ละคนอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับช่วงระยะเวลาของรอบเดือน บางคนมีรอบเดือนยาวนาน 35 วัน การตกไข่จะเกิดขึ้นประมาณวันที่ 21 หรือ บางคนมีรอบเดือนสั้นเพียง 21 วัน  การตกไข่ก็จะเกิดขึ้นประมาณวันที่ 7

 

ผู้หญิงมีประจำเดือนมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ เพราะอะไร ?

ความเข้าใจผิดที่ว่า ช่องคลอด (Vagina) หลั่งเลือดออกมาเป็นเพียงแค่สัญญาณเริ่มต้นของรอบเดือน แต่รู้ไหมคะว่า สิ่งนั้นอาจเกิดขึ้นพร้อมกับการตกไข่ เมื่อร่างกายของคุณอยู่ในช่วงสมบูรณ์มากที่สุด การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันในช่วงนี้ เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้มากเช่นกันนะคะ

 

สำหรับผู้หญิงทั่วไป จะมีรอบการตกไข่ (Ovulation cycle) ประมาณ 28-30 วัน ซึ่งหมายความว่า หากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่มีประจำเดือน ไข่ก็จะไม่ตก และจะตกก็ต่อเมื่อผ่านไปหลายวัน

 

แต่ในกรณีที่รอบเดือน และรอบการตกไข่มีช่วงระยะเวาลาไม่เท่ากัน จะต้องพิจารณาถึงความสามารถในการมีชีวิตของอสุจิ ซึ่งสามารถอาศัยอยู่ในมดลูกของผู้หญิงได้นานถึง 72 ชั่วโมง หลังการหลั่ง (Ejaculation) และหากมีเพศสัมพันธ์ช่วงวันท้าย ๆ ของประจำเดือน จะทำให้

อสุจิมีโอกาสอยู่ได้ถึงวันที่ไข่ตกอีกครั้ง และเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ได้ โดยเฉพาะกรณีมีรอบเดือนสั้น เช่น ช่วงระยะเวลารอบเดือน 21 วัน จะเกิดการตกไข่เร็วขึ้น และทำให้อสุจิมีโอกาสอยู่ได้ถึงวันที่ไข่ตกได้มากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นโอกาสในการตั้งครรภ์ก็จะมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย

 

 

การนับรอบเดือน จะช่วยให้คุณรู้วันตกไข่ และคำนวณวันที่จะกลับมามีประจำเดือนอีกครั้งเพื่อเช็คความผิดปกติของร่างกาย หรือหากต้องการวางแผนการตั้งครรภ์ คุณก็จะสามารถวางแผนล่วงหน้าได้หลาย ๆ เดือน และมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากขึ้นด้วยนะคะ

แต่หากไม่ประสงค์ให้เกิดการตั้งครรภ์ สิ่งสำคัญคือต้องป้องกันทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ และรวมถึงการคุมกำเนิด (Contraception) จำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัย (Condom) หรือ ทานยาคุมกำเนิด (Birth control pills) ควบคู่กัน

 

ยาคุมกำเนิด ไม่สามารถช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted) เช่น โรคเริม (Herpes), โรคหนองในแท้ (Gonorrhea) หรือ การติดเชื้อคลาไมเดีย (Chlamydia) เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองและผู้อื่น อย่าลืมสวมถุงยางอนามัยกันด้วยนะคะ

Share บทความ :

ผลิตภัณฑ์ที่จิลยองแนะนำ

ดูผลิตภัณฑ์จิลยองทั้งหมด

บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ

โรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อโปรโตซัว (Trichomonas Vaginitis)
โรคช่องคลอดอักแสบจากเชื้อโปรโตซัว (Trichomonas vaginitis/ TV) หรือโรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อพยาธิ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
อาหารกับช่วงที่มีประจำเดือน
อาการปวดท้อง และรู้สึกไม่สบายตัวเมื่อมีประจำเดือน ทำให้ผู้หญิงอย่างเราทุกข์ทรมานและแทบไม่อยากลุกขึ้นจากเตียง แต่รู้ไหมคะว่าการทานอาหารบางอย่างสามารถช่วยลดความเจ็บปวด ไปดูกันว่ามีอะไรบ้าง
โรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis)
โรคช่องคลอดอักแสบจากเชื้อแบคทีเรีย หรือ Bacterial Vaginosis เป็นภาวะที่เกิดจากเชื้อประจำถิ่น หรือ Normal Flora ที่อาศัยอยู่ในช่องคลอด (Vagina) เสียสมดุลจากการถูกแทนที่ด้วยแบคทีเรียชนิดอื่นที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ