JILGYUNGYI ARTICLE

บทความดีๆ ที่ช่วยเสริมความมั่นใจให้สาวจิลยอง

ไขข้อข้องใจ…รู้ทันอาการประจำเดือน

1 ตุลาคม 2562

ประจำเดือน (Menstruation), รอบเดือน (Period) หรือ ระดู (Menses) คือ เลือดที่เกิดจากการลอกตัวของเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrium) เเล้วขับออกผ่านทางช่องคลอด (Vagina) ในทุก ๆ เดือน เมื่อไม่มีตัวอ่อนเข้าไปฝังตัว โดยมีฮอร์โมนเพศหญิงเป็นตัวควบคุมเเละมีความสัมพันธ์กับการตกไข่ (Ovulation)  ประจำเดือนเเต่ละรอบจะมีช่วงระยะเวลาประมาณ 26-30 วัน ครั้งละประมาณ 3-7 วัน โดยปกติเพศหญิงจะเริ่มมีประจำเดือนเมื่ออายุประมาณ 11-14 ปี เเละหมดประจำเดือนเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทอง (Menopause) หรืออายุประมาณ 44-55 ปี

 

ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดประจำเดือน ได้เเก่ Follicle stimulating hormone (FSH) เเละ Luteinizing hormone (LH)

ในช่วงวันที่ 1-14 ของเดือน FSH จะทำหน้าที่ส่งเสริมการเจริญของไข่ โดยกระตุ้นรังไข่ (Ovary) ให้สร้างเอสโตเจน (Estrogen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง ให้ไปควบคุมการสร้างไข่และการเจริญของไข่ ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเอสโตเจน ในช่วงนี้มีปริมาณสูงกว่าปกติ

เเละในช่วงวันที่ 14-28 ของเดือน LH จะมีหน้าที่ทำให้เกิดการตกไข่ โดยกระตุ้นให้รังไข่ (Ovary) สร้างโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงเช่นกัน ทำให้ช่วงก่อนวันไข่ตกพบระดับของฮอร์โมนทั้งสองชนิดในปริมาณมาก โดยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน จะทำหน้าที่ควบคุมการหนาตัวของเยื่อบุมดลูกเพื่อรองรับไข่ที่ผสมเเล้ว เเต่หากไข่ไม่ได้รับการผสม ระดับปริมาณของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนก็จะลดต่ำลง ทำให้เยื่อบุมดลูกตัวนี้สลายไปเป็นประจำเดือน

จากการที่ไข่สุก และไข่ตกจากรังไข่ไปรอผสมที่มดลูก ช่วงนี้สมองจะทำหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์ (Reproductive system) โดยกาารส่งสัญญาณต่าง ๆ ไปยังรังไข่ทำให้เกิดความไม่สมดุลของระดับสารเคมีเเละฮอร์โมนในร่างกาย ส่งผลให้มีอาการหลายอย่างเกิดขึ้นในเพศหญิงช่วงก่อนประจำเดือนจะมาหรือที่เรียกว่า พีเอมเอส (PMS)

 

พีเอมเอส (PMS ย่อมาจาก Premenstrual syndrome)

คือ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นก่อนประจำเดือนจะมาประมาณ 7-10 วัน ได้เเก่ สุขภาวะทางกาย (Physical health) เช่น ปวดศีรษะ, ปวดหลัง, ปวดท้อง, ท้องอืด, คลื่นไส้, รู้สึกอยากอาหารมากกว่าปกติ, เจ็บเต้านม, ตัวบวม, ร่างกายอ่อนเพลีย เเละเกิดสิว เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนเเปลงสุขภาวะทางจิตใจ (Mental health)  เเละอารมณ์ (Emotional) ร่วมด้วย เช่น หงุดหงิดง่าย, อารมณ์อารมณ์เเปรปรวน, นอนไม่หลับ, เครียด, วิตกกังวล เเละหลงลืม อาการเหล่านี้จะบรรเทาเเละหายไปเมื่อประจำเดือนมา เเละจะวนกลับมาใหม่ในรอบเดือนถัดไป จนกว่าจะหมดประจำเดือนเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทอง

หลังจากผ่านช่วง พีเอมเอส เเละเข้าสู่ช่วงมีประจำเดือน จะเกิดอาการปวดประจำเดือน หรือ Dysmenorrhea

 

การปวดประจำเดือน (Dysmenorrhea)

คือ อาการปวดเกร็งบริเวณท้องน้อย เนื่องจากร่างกายมีการหลั่งสารโปรสตาแกลนดินส์ (Prostaglandin) ออกมา ส่งผลให้มีกล้ามเนื้อมดลูกมีการหดตัวเเละทำให้หลอดเลือดรอบ ๆ มดลูกเกิดการบีบตัว ช่วงก่อนประจำเดือนจะมาจนถึงระหว่างช่วงมีประจำเดือน โดยระดับความรุนเเรงจะมีตั้งเเต่ระดับต่ำไปจนถึงระดับรุนแรง โดยอาจพบอาการปวดท้องน้อย, รู้สึกไม่สบายตัว, ปวดหลัง, มีอาการคลื่นไส้, ปวดหัว เเละท้องเสียร่วมด้วย ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วง 1-2 วันเเรกของการเป็นประจำเดือน

อาการปวดประจำเดือนอาจเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความทรมานสำหรับผู้หญิง เเต่อย่างไรก็ตามยังพอมีวิธีรักษาหรือบรรเทาอาการเหล่านั้นได้ เดี๋ยวเราไปดูกันเลยค่ะ

 

วิธีบรรเทาอาการปวดประจำเดือน

 

1. การใช้ยา ยาที่สามารถใช้เอง เพื่อบรรเทาอาการปวดท้องก่อนมีประจำเดือน หรือระหว่างมีประจำเดือน ได้แก่ Diclofenac, Mefanamic acid, Ibuprofen และ Paracetamol เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานยาในปริมาณที่เหมาะสม และอ่านฉลากยาให้เข้าใจ พร้อมปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดการใช้ยาเกินขนาด หรือใช้ยาขณะท้องว่าง ทำให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหาร

 

2. การใช้ธรรมชาติบำบัด เช่น การออกกำลังกายเบา ๆ, การใช้ถุงน้ำร้อนประคบ, การนวดวนรอบบริเวณท้องน้อย, การรับประทานอาหารประเภทแคลเซียม แมกนีเซียม เเละวิตามินบี, การใช้น้ำมันหอมระเหยของกุหลาบหรือลาเวนเดอร์ทาลงบนท้องน้อย เเละการฝังเข็มเพื่อบรรเทาอาการปวด ในกรณีที่ปวดท้องรุนแรง

 

Conclusion:

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพื่อสุขอนามัยที่ดี ควรหมั่นดูแลจุดซ่อนเร้น (Intimate area) ให้สะอาดอยู่เสมอ เพราะช่วงที่มีประจำเดือน จุดซ่อนเร้นของผู้หญิงทุกคนต้องเผชิญกับความอับชื้น และเกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อ

สาว ๆ ทุกคนอย่าลืม เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเฉพาะจุดที่อ่อนโยน และมีค่า pH Balance ที่เหมาะสม จะช่วยให้รู้สึกสะอาด ลดการระคายเคือง ลดความอับชื้นและ ช่วยให้รู้สึกสบายตัวขึ้น รวมถึงสร้างความมั่นใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องกลิ่นไม่พึงประสงค์อีกด้วยค่ะ

Share บทความ :

ผลิตภัณฑ์ที่จิลยองแนะนำ

ดูผลิตภัณฑ์จิลยองทั้งหมด

บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ

มีเพศสัมพันธ์ถูกเวลา...ท้องแน่นอน !!
หากคุณกับคนรักกำลังวางแผนมีลูก เพื่อสร้างครอบครัวที่สมบูรณ์ เพื่อช่วยให้สิ่งที่คุณหวังประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น วันนี้เรามีคำแนะนำดี ๆ มาฝาก ไปดูกันเลยค่ะ
โรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อโปรโตซัว (Trichomonas Vaginitis)
โรคช่องคลอดอักแสบจากเชื้อโปรโตซัว (Trichomonas vaginitis/ TV) หรือโรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อพยาธิ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis)
โรคช่องคลอดอักแสบจากเชื้อแบคทีเรีย หรือ Bacterial Vaginosis เป็นภาวะที่เกิดจากเชื้อประจำถิ่น หรือ Normal Flora ที่อาศัยอยู่ในช่องคลอด (Vagina) เสียสมดุลจากการถูกแทนที่ด้วยแบคทีเรียชนิดอื่นที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ